เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

5. สัมปสาทนียสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสยิ่งในพระผู้มีพระภาค
การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

[141] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทา
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณ1ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’
[142] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา(วาจาอย่าง
องอาจ)อย่างสูง เธอถือเอาด้านเดียว2 บันลือสีหนาท3ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’
สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรม
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
1 สัมโพธิญาณ ในที่นี้หมายถึงสัพพัญญุตญาณ หรืออรหัตตมรรคญาณ (ที.ปา.อ. 141/64)
2 ถือเอาด้านเดียวในที่นี้หมายถึงถือเอาการสันนิษฐานโดยอนุมานของตนเองเท่านั้น (ที.ปา.อ. 142/65)
3 บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงบันลืออย่างประเสริฐ องอาจเหมือนพญาราชสีห์ (ที.ปา.อ. 142/65)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :103 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ ซึ่งจักเสด็จมาอุบัติขึ้นในอนาคตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้นจักทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี
ปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่อง
อยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น
อย่างนี้”
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจของเราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วย
ใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมี
ปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้”
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ก็ในเรื่องนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณ1ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น บัดนี้ ไฉนเธอจึงกล่าวอาสภิวาจา
อย่างสูง ถือเอาด้านเดียว บันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
[143] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่า
ข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต
และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้วิธีการอนุมาน เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของ

เชิงอรรถ :
1 เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ คือรู้ใจผู้อื่น อ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลัง
คิดอะไรอยู่ ใจของเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส (ที.สี. (แปล) 9/242/80-81, 476/208-209, ที.ม. (แปล)
10/145/91)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :104 }